ท่าตอน จัดว่าเป็น สถานที่ท่องเที่่ยวสำคัญ อันดับต้นๆ ของประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจบริเวณท่าตอนมากมาย และเป็นทางผ่านระหว่างเชียงใหม่ เพื่อเดินทางไปสู่จังหวัดเชียงราย ด้วยบรรยากาศวิวทิวทัศน์ ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา และมีแม่น้ำไหลผ่าน สภาพอากาศที่เย็นเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ผู้ที่มาเที่ยวท่าตอน ต่างรู้สึกประทับใจในบรรยากาศต่างๆ เหล่านี้ อีกทั้ง วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณีของผู้คน ชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ ยังมีให้พบเห็น พร้อมให้คุณสัมผัสได้อย่างเต็มที่ แหล่งท่องเที่ยวที่่สำคัญๆ ต่างๆ ในท่าตอนมีดังนี้ 1.วัดท่าตอน ที่ตั้งวัดท่าตอน วัดท่าตอน ตั้งอยู่ที่บ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม จนมีซินแสบางท่าน ยกย่องว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่ บนภูเขามังกร เพราะว่า วัดท่าตอนนั้น จะมีพื้นที่ทอดยาวไปตามไหล่เขาเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้น ก็จะมีศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐาน อยู่ทุกยอดเขา และยอดเขาที่เป็นยอดเขาจุดศูนย์กลางและเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดนั้น จะเป็นสถานที่ตั้งและประดิษฐานของ "พระบรมธาตุรัชมังคลาจารย์สมานฉันท์" หรือ "พระเจดีย์แก้ว" ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดสร้าง ซึ่งพุทธศาสนิกชน สามารถร่วมจัดสร้างเพื่อเป็นบุญกุศล ได้โดยตรงที่วัดท่าตอน หรือทำบุญผ่านบัญชีธนาคารก็ได้ ทุกยอดเขาของวัดท่าตอนท่านจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบ้านท่าตอนที่สวยงาม ตลอดจนมองเห็นพื้นที่อำเภอแม่อายและภูเขาต่างๆได้อย่างสวยงาม ประวัติวัดท่าตอน ปัจจุบัน วัดท่าตอนเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตั้งอยู่บนยอดเขาต่อเนื่องหลายลูก บนเนื้อที่ 425 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา แยกเป็นพื้นที่ตั้งวัดชั้นล่าง 45 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา และเป็นเขตอุทยานพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรม 380 ไร่ 67 ตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีที่ราบริมแม่น้ำกก บริเวณหน้า มหาโพธิสัตว์กวนอิม และบริเวณลานวัด ซึ่งพระเจดีย์ประดิษฐานอยู่เขตวัดทิศเหนือ จรดแม่น้ำกก และไร่นาของชาวบ้าน ทิศตะวันออกและทิศใต้ จรดเขตบ้านหลายหลัง และทิศตะวันตกจรดป่าสงวนแห่งชาติ ประวัติความเป็นมาในอดีต วัด ท่าตอน เป็นวัดร้างมานานหลายร้อยปี มีพระเจดีย์เก่าชำรุดอยู่หนึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตามตำนานสุวรรณดำแดงกล่าวว่า กลุ่มคนไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ตอนกลางของเชียงใหม่ ประมาณหลังปี พ.ศ. 1700 นั้น เป็นผู้นับถือพุทธศาสนา นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้มีความเห็นว่า บริเวณลุ่มน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำกก เป็นที่ตั้งของชุมชน ที่มีวัฒนธรรมอยู่มาก่อน ก่อนที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 ห่างจากวัดท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า ชื่อ เวียงแข่ ยังคงมีคูเมืองปรากฏอยู่ เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยใดนั้น ไม่เป็นที่ปรากฏหลักฐาน จากการค้นคว้าคำจารึกในฐานพระพุทธรูปเก่าที่สุดที่พบในเขตอำเภอแม่อาย (วัดศรีบุญเรือง) จุลศักราช 221 (พ.ศ. 1403 ) พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณที่พบตามวัดร้างในท้องนาและริมแม่น้ำฝาง ซึ่งวัดต่างๆ ในท้องที่เก็บรักษาไว้ บางส่วนขนย้ายไปจังหวัดเชียงราย (วัดมุงเมือง) และส่วนกลาง ( พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค มาสำรวจเมืองฝางขนไปบ้าง ) แสดงให้เห็นถึงร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ผ่านมาหลายศตวรรษของถิ่นนี้ ในอดีต แม้ในจุลศักราช 636 (พ.ศ. 1818) พระยามังรายเสด็จมาเสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ก็มิได้ปรากฏว่าพระองค์สร้างเมืองขึ้นใหม่ ฝางและอำเภอใกล้เคียง (เวียงไชย เวียงแข่ เมืองงาม เป็นต้น) คงเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนแล้ว ในตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า " อันเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างมาแต่โบราณกาลแล้ว หากจะพูดตามตำนาน ก็สร้างมาแต่สมัยพระเจ้าลวะจังกราชปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลาวจก และต่อมาในสมัยพระเจ้ามังราย บ้านเมืองเดิมก็คงชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ด้วยเป็นที่อุดมสมบูรณ์ พระเจ้ามังรายจึงได้บูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง " ฯ จากการสำรวจโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของกรมศิลปากร พบว่า พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดท่าตอน (ศาลาพุทธบุตรประชาสรรค์) ปางมารวิชัยประทับนั่ง 5 องค์ ปางประทับยืน 3 องค์ เป็นศิลปล้านนา เป็นพุทธศิลป์ซึ่งทรงคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ มีอายุ 500-700 ปี มีคำจารึกที่ฐานพระพุทธรูป 2 องค์ ปางมารวิชัย ประทับนั่งองค์เล็กสุด (พระฝนแสนห่า) สร้างเมื่อจุลศักราช 910 (พ.ศ. 2092) ปางประทับยืนอุ้มบาตร บอกแต่เพียงชื่อผู้นำสร้าง และผู้ร่วมทำบุญ ไม่บอกศักราช ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่า วัดท่าตอน ได้สร้างมาแล้วเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี อาจสร้างในสมัยเดียวกับที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงสร้างพระธาตุสบฝาง ( ประมาณหลัง พ.ศ. 1483 ) เพราะอยู่ไม่ห่างกัน (ประมาณ 5 กิโลเมตร) และตั้งอยู่บนยอดเขา ริมแม่น้ำกกเช่นเดียวกัน อีกทั้งจารึกในฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง ซึ่งนำมาจากวัดร้างในท้องนาบริเวณไม่ห่างจากท่าตอน ก็ใกล้เคียงสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชมาก วัดท่าตอน ยุคก่อนบูรณะ เนื่อง จากท่าตอนเป็นชายแดนติดต่อกับรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวบ้านท่าตอนในสมัยก่อนแม้กระทั่งปัจจุบัน จึงมีชาวไทยใหญ่ปะปนกับชาวพื้นเมืองมาแต่เดิม พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค เดินทาง (ขี่ช้าง) มาสำรวจเมืองฝาง พบว่า " ท่าตอง (ท่าตอน) เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีกระท่อมรวมกันราว 12 หลังคาเรือน กระจัดกระจายไปตามริมฝั่งทั้งสองข้างของแม่น้ำกก ท่าตองเป็นหมู่บ้านเงี้ยว (ไทยใหญ่) แท้ๆ " ในปี พ.ศ. 2472 มีวัดไทยสร้างอยู่ลานว่างของหมู่บ้านตรงที่เป็นสถานีอนามัยในปัจจุบัน ในเทศกาลมีชาวไทยใหญ่จากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญด้วย และเป็นที่ครึกครื้นอยู่พักหนึ่ง และชนพื้นเมืองก็สร้างวัดที่ท้ายบ้านใต้ (ทิศตะวันออกของหมู่ 3 ) วัดทั้ง 2 วัด เมื่อครูบาแก้ว มาเริ่มบูรณะ วัดท่าตอนก็ได้ยุบไป ครูบาแก้วสร้างพระเจดีย์ครอบ ปี พ.ศ. 2479 ครูบาแก้ว กาวิชโย จากสำนักวัดมงคลสถาน (แม่แหลงดอนชัย) อำเภอแม่อาย และพระธุดงค์จากวัดน้ำบ่อหลวง (ชาวบ้านเรียกท่านว่า ครูบาป่า) ได้มาร่วมจำพรรษาและริเริ่มบูรณะวัดท่าตอน ในสมัยนั้นชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและศรัทธามาก ครูบาแก้ว กาวิชโย นามสกุลเดิม ดวงฤทธิ์ เกิด พ.ศ. 2433 เป็นชาวบ้านเมืองเลน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แรกทีเดียวขึ้นมาเมืองฝางพร้อมกับพี่สาว มาอยู่กับครูบาเต๋จา วัดศรีบุญเรือง แล้วย้ายมาอยู่วัดมงคลสถาน ต่อมาเมื่อพบพระเจดีย์เก่าวัดท่าตอน จึงขึ้นมาบูรณะวัดและก่อสร้างพระเจดีย์ครอบ ปฏิปทาในการปฏิบัติธรรมของท่านและความมุ่งมั่นในการบูรณะพัฒนาวัด ได้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก นายปั๋น มงคลเขต ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเดิมนับถือศาสนาคริสต์ ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ การก่อสร้างพระวิหารวัดท่าตอนยังไม่แล้วเสร็จ ครูบาแก้วได้ล้มป่วยลง ญาติๆได้นิมนต์ไปพักรักษาที่วัดมงคลสถานและมรณภาพที่นั่น ในปี พ.ศ. 2489 สิริรวมอายุ 56 ปี การเดินทางสู่วัดท่าตอน วัด ท่าตอน ตั้งอยู่ ณ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 770 กิโลเมตร โดยมีระยะห่าง จาก ตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปทางทิศเหนือประมาณ 173 กิโลเมตร 2.วัดพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย ตำนานวัดพระธาตุสบฝาง สถานที่ตั้งของวัด วัดพระธาตุสบฝางตั้งอยู่บนยอดดอยสบฝาง บนฝั่งแม่น้ำกก ห่างจากตัวอำเภอฝางไปทางทิศเหนือประมาณ 32 กิโลเมตร และห่างจากบ้านท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้ ทิศเหนือจรดแม่น้ำกก ทิศใต้จรดแม่น้ำฝาง ทิศตะวันออกจรดบ้านป๊อกป่ายาง ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำกก การคมนาคมสะดวกสามารถเดินทางไปได้ทั้ง 2 ทาง คือ
บริเวณวัดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 800 ไร่ พื้นที่เนินเขาติดลำน้ำกก สามารถมองเห็นทัศนียภาพด้านล่างได้อย่างชัดเจนและสวยงาม บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจะปกคลุมด้วยป่าไม้ไผ่ขนาดใหญ่นานาชนิด ให้ความร่มรื่นน่าอยู่และหาดูได้ยากในยุคนี้ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) ทางราชการกำลังตัดถนน (ทางลัด) ตรงหลัก กม.28 บนถนนสายท่าตอน-แม่จัน โดยสร้างสะพานคอนกรีตขนาดมาตรฐานข้ามน้ำกก ใกล้ๆ กับวัดพระธาตุสบฝาง ระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้ ทางลัด (ถนน) สายนี้จะย่นระยะทางไปสู่วัดพระธาตุสบฝางได้มากและรวดเร็วสะดวกสบายยิ่งขึ้น พระนลาฏธาตุของพระพุทธเจ้า จากตำนานสิงหนวัติได้กล่าวว่า ในพุทธศตวรรษที่ 9 ช่วงรัชสมัยของพระองค์พังคราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ มีพระภิกษุชาวมอญรูปหนึ่งชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ อยู่ที่เมืองเมาะลำเลิง ไม่ไกลจากเมืองเมาะตะมะ ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกา หลังจากจบการศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยแล้วจึงได้เดินทางกลับมาเผยแผ่พระ พุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงค์ในประเทศพม่า-มอญ-สุโขทัยและโยนกนคร ตามลำดับ พระพุทธโฆษาจารย์นอกจากจะนำเอาพระคัมภีร์พระไตรปิฎกมาถวายแด่พระองค์พังแล้ว พระพุทธโฆษาจารย์ยังได้นำเอาพระบรมธาตุส่วนพระนลาฏของพระพุทธเจ้า (กระดูกส่วนหน้าผาก) จำนวน 16 องค์ มาถวายแด่พระองค์พัง เมื่อพระองค์พังได้รับพระบรมธาตุแล้ว จึงทรงแบ่งพระบรมธาตุดังกล่าว จำนวน 5 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์กลาง 2 และองค์เล็กอีก 2 องค์) ให้แก้พญาเรือนแก้วเจ้าเมืองไชยนารายณ์ เมื่อพญาเรือนแก้วได้รับพระบรมธาตุแล้วจึงได้ไปสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระ บรมธาตุดังกล่าวทั้ง 5 องค์ ไว้ที่ยอดดอยจอมทอง เขตเมืองพะเยา ส่วนพระบรมธาตุที่เหลืออีก 11 องค์ พระองค์พังจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเหล่านั้นใส่ในโกศทองคำ ซ้อนโกศเงินและโกศแก้ว มอบให้แก่พญาพรหมมหาราช พระโอรสของพระองค์เองเก็บรักษาไว้ พระบรมธาตุแสดงอภินิหาร เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชยึดนครโยนกคืนได้แล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นไปบนยอดดอยน้อยในวันวิสาขบูชา เพื่อสร้างเจดีย์ครอบทับสถูปพระเกศสาธาตุองค์เดิมที่พญาสิงหนวัติได้ทรง สร้างไว้เมื่อก่อนพุทธศักราช 30 ปี ซึ่งพระเจดีย์ที่สร้างใหม่นี้มีขนาดสูง 13 เมตร กว้างด้านละ 6 เมตร เพื่อบรรจุพระบรมธาตุทั้ง 11 องค์ที่พระเจ้าพังคราชประทานให้ไว้พระพรหมมหาราชเกิดประหลาดใจและปิติยินดี เป็นล้นพ้นเมื่อพระองค์เปิดโกศทองที่บรรจุพระบรมธาตุทั้ง 11 องค์ออก และได้พบว่ามีพระบรมธาตุเสด็จมาอยู่ในโกศทองคำจนเต็มโกศ พระธาตุแต่ละองค์มีขนาดเล็กกว่าของเดิมทุกองค์ พระองค์จึงอัญเชิญพระธาตุเฉพาะองค์ใหญ่ทั้ง 11 องค์ออกมาบรรจุไว้ในเจดีย์แห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่าพระธาตุจอมกิตติ ส่วนพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมด พระองค์ทรงเก็บไว้ด้วยพระองค์เอง ชาติภูมิของพระเจ้าพรหมมหาราช พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงประสูติที่เวียงสี่ตวง ปัจจุบันเรียกว่า บ้านเวียงแก้ว ต.ป่าสักน้อย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นพระโอรสของพระองค์พัง หรือพระเจ้าพังคราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงค์สิงหนวัติซึ่งถูกพญาขอมดำขับไล่ออกจากเมืองโยนกเมื่อปี พ.ศ. 900 และได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เวียงสี่ตวงแห่งนี้ พระองค์พังคราชมีพระโอรส 2 องค์ องค์พี่ชื่อทุกขิตกุมาร ส่วนองค์น้องชื่อ พรหมกุมาร ซึ่งประสูติเมื่อปี พ.ศ. 903 สร้างเวียงพานคำ พระเจ้าพรหมมหาราช มีความคับแค้นใจพญาขอมดำตั้งแต่บุพชาติ (เมื่อบุพชาติพระเจ้าพรหมมหาราชเป็นสามเณรไปบิณฑบาตในบ้านของพญาขอมดำถูก เหยียดหยามดูถูกนานัปการ) เมื่อพระองค์เจริญวัยขึ้นจึงได้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ตามยุทธพิธีชัยสงคราม เมื่อพระองค์ได้ช้างเผือกคู่บารมีชื่อช้างเผือกแก้วพานคำ จากกลางลำน้ำโขงแล้ว จึงได้พาทหารกล้าทั้งหลายไปตั้งเมืองใหม่บนฝั่งแม่น้ำสาย และตั้งเมืองใหม่นี้ว่า “เวียงพานคำ” ตามชื่อของช้างเผือกมงคลของพระองค์ ปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น “ตำบลเวียงพางคำ” อำเภอแม่สาย พระองค์สร้างเวียงพานคำไว้เพื่อเป็นที่ซ่อมสุมกำลังพลและฝึกซ้อมเพื่อเตรียม ที่จะรบและขับไล่ขอมดำออกจากโยนก สร้างเวียงไชยปราการ เมื่อพระพรหมราชสิ้นสุดภาระหน้าที่ในการกำจัดและขับไล่ขอมดำออกจากโยนกเรียบ ร้อยแล้ว พระองค์จึงไปทูลเชิญพระราชบิดา (พระองค์พังคราช) ที่เวียงสี่ตวงให้กลับมาครองเวียงโยนกอีกตามเดิม โดยให้พระเชษฐาธิราช (ทุกขิตกุมาร) ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแห่งโยนกนคร ส่วนพระเจ้าพรหมมหาราชในฐานะที่เป็นพระอนุชา จึงยอมพาพระมเหสีของพระองค์พร้อมบริวารและทหารบางส่วนออกจากโยนกนครมุ่งหน้า ไปทางทิศตะวันตก เพื่อหาชัยภูมิสร้างเมืองใหม่ ที่ต้นน้ำกุกกนที ให้เป็นเมืองกันชนป้องกันข้าศึกมิให้เข้ามารบกวนนครโยนกอีก เพราะพระองค์เกรงว่าพวกมองโกเลียจะอพยพขยายอิทธิพลล่องลงมาทางใต้อีกและพวก ขอมดำอาจจะคิดแก้แค้นทวงดินแดนโยนกนครคืนอีกก็เป็นได้ และตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “เวียงไชยปราการ” พระเจ้าพรหมมหาราชทรงเสวยราชสมบัติอยู่ที่เวียงไชยปราการนี้จนถึงปี พ.ศ. 980 จึงเสด็จสวรรคตสิริพระชนมายุได้ 77 พรรษา สร้างวัดพระธาตุสบฝาง เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สร้างเวียงไชยปราการที่ต้นน้ำกุกกนที (น้อกก) ได้ประมาณ 4 ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.923 พระองค์จึงสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอดดอยสบฝาง ริมฝั่งแม่น้ำกก ห่างจากบ้านท่าตอนประมาณ 4 กม. เพื่อบรรจุพระบรมธาตุทั้งหมดที่เหลือจากการบรรจุที่วัดพระธาตุจอมกิตติเมือง เชียงแสน ครั้งก่อน สร้างพระพุทธรูป เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สถาปนาองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุของพระ พุทธเจ้าเรียบร้อยแล้ว พระองค์ยังให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์อีกจำนวนมาก เพื่อถวายไว้กับวัดนี้และวัดที่พระองค์สร้างไว้ในเมืองไชยปราการ เช่น วัดส้มสุก, วัดเก้าตื้อ, วัดป่าแดง และวีดดอกบุญนาค เป็นต้น สร้างบันไดนาค บันไดนาควัดพระธาตุสบฝางมีลักษณะแตกต่างจากวัดอื่นๆ กล่าวคือ หัวบันไดนาคจะขึ้นจากฝั่งน้ำกกด้านทิศเหนือ ด้างล่างกว้าง 4 เมตรขึ้นไปประมาณ 10 เมตร ช่องบันไดจะแคบลดลงเหลือแค่ 1.5 เมตร ตลอดช่วงบันได ซึ่งยาว 716 ขั้น บันไดจะคดซ้าย เลี้ยวขวาขึ้นไปเรื่อยๆ ภายใต้ร่มเงาของป่าไม้ไผ่ขนาดใหญ่นานพันธุ์ให้ความร่มเย็นตลอดแนวบันได สันนิฐานว่าสร้างมาประมาณ 80 ปี ยุคที่ครูบาศรีวิชัยขึ้นมาบูรณะพระธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2467 ไฟไหม้วิหาร ในปี พ.ศ. 2476 เกิดไฟป่าไหม้ลุกลามเข้าวัดและไหม้วิหาร จนเหลือแต่ซากที่ใช้การไม่ได้ ครูบาแก้ว กาวิชโช จึงให้ศรัทธาชาวบ้านทั้งหลายช่วยกันขนย้ายพระพุทธรูปต่างๆ ไปฝากไว้ที่วัดท่าตอน, วัดบ้านค่าย, วัดสันโค้ง, วัดแม่อายบ้านเด่น และวัดแม่ฮ่างหลวง ซึ่งมีปรากฏอยู่ทุกวันนี้ การบูรณะพระธาตุสบฝาง ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการซ่อมบูรณะองค์พระธาตุสบฝางในอดีต เพราะหลังจากพม่าถูกขับไล่ออกจากล้านนาแล้ววัดพระธาตุสบฝางก็ยังคงเป็นวัด ร้างอยู่ตลอดมา จวบจนปี พ.ศ. 2467 ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้เดินธุดงค์ไปเมืองเชียงแสน และได้แวะพักแรมอยู่ที่วัดพระธาตุสบฝางได้เห็นเจดีย์เก่าและชำรุดทรุดโทรม มาก จึงให้โยมอุปัฏฐากนำหนังสือไปให้เจ้าเมืองฝาง เพื่อขออุปถัมภ์ที่จะบูรณะครั้งนั้นมิได้ต่อเติมหรือดัดแปลงรูปทรงองค์พระ เจดีย์ให้ผิดไปจากทรงเดิมเพียงแต่ก่อและห่อหุ้มองค์พระเจดีย์ให้สมบูรณ์เท่า นั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2532 พระครูวุฒิญาณพิศิษฐ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่อายได้ย้ายขึ้นมาอยู่ จำพรรษาบนดอยนี้ ได้สร้างอุโบสถจตุมุธและวิหารปฏิบัติธรรม โดยได้รับการอุปถัมภ์จากคุณอเนก ฮุนตระกูล จากกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้บูรณะองค์พระเจดีย์ โดยได้กะเทาะปูนเก่าออกทั้งหมดและฉาบใหม่ทั้งองค์และเปลี่ยนยอดฉัตรบนยอดดอย พระเจดีย์ด้วยให้สมบูรณ์และสวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้นตราบเท่าที่เป็นอยู่ทุก วันนี้ การพัฒนาวัดพระธาตุสบฝางครั้งล่าสุด เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2547 พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณญาณสมโพธิ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่และประธานมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ได้มีโอกาสขึ้นมานมัสการพระธาตุสบฝางจึงเกิดจินตนาการขึ้นมาว่า วัดนี้เป็นวัดประวัติศาสตร์ของล้านนาหากได้รับการพัฒนาก็อาจจะเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่สำคัญของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และจะเป็นศูนย์รวมด้านจิตใจของชาวพุทธอำเภอแม่อาย และอำเภอฝาง ตลอดถึงชางเชียงใหม่ และชาวพุทธจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย หลังจากท่านเจ้าคุณกลับไปเชียงใหม่ ท่านจึงได้ส่งกรรมการมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ 2 คน ประกอบด้วย นายวัลลภ นามวงศ์พรหม และนายประวิทย์ ตันตลานุกุลขึ้นมาวัดพระธาตุสบฝางอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาข้อมูล และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาวัดนี้ สรุปแล้ววัดพระธาตุสบฝาง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างแล้วกว่า 1,600 ปี โดยพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้ก่อตั้งเวียงไชยปราการ จึงสมควรที่จะพัฒนาวัดนี้ให้เจริญสมกับเป็นวัดที่สำคัญมาในอดีต และเพื่อให้วัดนี้เป็นศูนย์รวมด้านจิตใจของชาวพุทธในล้านนา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ (น้ำกก) ที่สำคัญของเชียงใหม่และเชียงรายอีกด้วย งานประจำปีของวัด กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในวัดนี้มี 7 กิจกรรม ดังต่อไปนี้
ทุกงานจะมีประชาชนจากทั่วสารทิศในอำเภอฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ มาร่วมงานอย่างคับคั่งทุกปี ที่มา : (ประวิทย์ ตันตลานุกูล. ตำนานวัดพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย เชียงใหม่. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2547 หน้า 1-9) 3.วัดสันต้นดู่ วัดสันต้นดู่ เป็นวัดเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ๆ สวนส้มธนาทร ห่างจากท่าตอนประมาณ 8 กิโลเมตร และเนื่องจาก เป็นวัดเล็กๆ พระที่วัดสันต้นดู่ จึงต้องมาบินฑบาตรไกลถึงที่ท่าตอน หากผ่านไปเที่ยวสวนส้มธนาทรแล้วมีเวลาว่างจะแวะไปทำบุญที่วัดเล็กๆ เปลี่ยนบรรยากาศ ก็เชิญได้ที่วัดนี้ครับ
การที่เป็นวัดเล็กๆ การจะระดมทุนเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจึงต้องอาศัย พลังศรัทธาจากชาวบ้านทุกๆคน
4.วัดปางต้นเดื่อ (ดอยลาง) วัดบ้านปางต้นเดื่อ ตั้งอยู่บนดอยลาง ห่างจากท่าตอนประมาณ 13 กิโลเมตร บนเส้นทางขึ้นเขา ที่มีภูมิทัศน์ที่งดงาม ท่านสามารถมองเห็นท่าตอนในมุมสูง รวมทั้งเจดีย์แก้ว ของวัดท่าตอนในระยะใกล้ วัดนี้เป็นที่พำนักของ ครูบาสิทธิ อภิวัณโณ เกจิ อาจาร์ยชื่อดังที่มีชื่อเสียง และเป็นที่เคารพของผู้คนละแวกนี้ ดอยลางในอดีตดินแดนที่อำนาจรัฐเข้าไม่ถึง หลวง ปู่ครูบาสิทธิท่านไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้นะครับแถวนั้น ไม่แน่จริงจะเป็นพระที่เคารพของกองกำลังต่างๆที่ปะทะกันอยู่แถบดอยลางได้ หรือ? ดูรายงานชิ้นนี้ครับ ในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๓๐ อาณาบริเวณพื้นที่ชายแดนด้านดอยลาง และพื้นที่ลุ่มน้ำกกตอนบน มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมไม่แตกต่างจาก “รัฐอิสระ” เท่าใดนัก อำนาจรัฐส่วนกลาง ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ไม่สามารถแสดงอำนาจเหนือพื้นที่ได้บริเวณพื้นที่ดอยลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกกตอนบน และห่างจากหมู่บ้านท่าตอนเหนือขึ้นไปตามลำน้ำกกประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นฐานที่ตั้งของกองบัญชาการของกองทัพปลดปล่อยชนชาติลาหู่ (LNLA.) ส่วนอีกด้านหนึ่งของแม่น้ำกก จะอยู่ในการควบคุมของกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army, SSA) หากจะสรุปอย่างตรงไปตรงมาแล้ว กล่าวได้ว่า ในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๓๐ พื้นที่ชายแดนไทย-พม่าเขตลุ่มน้ำกกตอนบน ท้องที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งศูนย์กลางอำนาจย่างกุ้งและกรุงเทพฯ หรือหน่วยงานของรัฐบาลไม่มีอำนาจเหนือดินแดน/ไม่สามารถปฏิบัติการจริงในการ ควบคุมจัดการพื้นที่ได้ อาณาบริเวณดังกล่าวมีกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นจำนวนถึง ๘ กลุ่มย่อย และมีกำลังพลรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ คน โดยประกอบไปด้วยกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่าง ๆ คือ (๑) กองทัพปลดปล่อยชนชาติลาหู่ ที่มี ๓ กลุ่มย่อย คือ กลุ่มเจ้าฟ้าจะอื่อ หรือพญาจะอื่อ, กลุ่มเจ้าฟ้าแอบิ กลุ่มพันเอกแสงหาญ (๒) กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army, SSA) กลุ่มเจ้าหาญสามแสง-ขุนโง๊ะ, กลุ่มขุนส่า (Mong Tai Army, MTA) (๓) กองกำลังติดอาวุธชนชาติว้า (Wa National Organizations, WNO) ซึ่งมีกลุ่มของ พ่อเฒ่าพะโป่ หรือ พะโป่กางเสือ, กลุ่มเจ้ามหาซาง และไอ่เชียวสือ, กลุ่มเจ้ายี่ลาย ประวัติโดยย่อครูบาสิทธิ หลวงปู่ครูบาสิทธิ อภิวัณโณ นามเดิมชื่อสิทธิ เมืองใจ เกิด ๑๐ มิย. พศ .๒๔๖๕ ณ. บ้านแม่ฮ่าง ต.แม่สาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนโตของพ่อบุญมา และแม่ป้อ เมืองใจ ในพี่น้องทั้งหมด ๕ คน หลังจากหลวงปู่ฯเกิดได้ไม่นานพ่อแม่ก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านปางกลาง อายุ ๑๖ ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดปางกลาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ๕ เม.ย. ๒๔๘๑ โดยมีครูบาแก้ว กาวิชโย วัดมงคลสถาน อุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดชัยสถาน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ ๑๓ มิ.ย. ๒๔๘๕ โดยมีครูบาก๋องคำ วัดมาตุการาม เป็นพระอุปปัชฌาย์ ครูบาอุ่นเรือน ธีรปัญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคำภีร์ ธมฺมวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม กับครูบาสิงห์แก้ว ที่วัดแม่อายหลวง จนจบนักธรรมเอก ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาอักขระและเวทย์มนต์ล้านนากับพระอธิการวงศ์ เจ้าอาวาสวัดจองกล๋าง อีกทั้งยังใช้เวลาว่างศึกษาค้นคว้าพระเวทย์จากปั๊ปสาต่างๆอีกจำนวนมาก หลัง จากนั้นในปี ๒๔๙๓ หลวงปู่ครูบาสิทธิได้ถูกส่งไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดห้วยม่วงจนถึง พ.ศ.๒๔๙๗ จึงถูกส่งไปดูแลวัดถ้ำตับเต่าเนื่องจากครูบาธรรมชัย(ศิษย์ครูบาศรีวิชัย) เจ้าอาวาสวัดในสมัยนั้นถูกอาราธนาไปพัฒนาวัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง วัดถ้ำตับเต่านี้อยู่ในป่าเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์แต่ เป็นวัดสำคัญเพราะเคยเป็นที่พักทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระ เอกาทศรถขณะนำกำลังเข้าตีพม่าในปี พศ.๒๑๓๕ พระองค์ได้ทรงสร้างพระปางไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนเคลือบยางรักศิลปอยุธยาและพระ อัครสาวกล้อมรอบเอาไว้ภายในถ้ำแห่งนี้และยังมีพระพุทธรูปกับเจดีย์ที่สร้าง โดยการก่ออิฐถือปูนเช่นกันแต่สามารถเอานิ้วมือกดลงไปแล้วนิ่มหยุ่นๆเหมือน ถุงพลาสติกใส่น้ำน่าอัศจรรย์ยิ่ง นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีศิลาจารึก๓ แผ่นเป็นตัวหนังสือพื้นเมืองเก่าแก่มีใจความว่าเป็นถ้ำที่พระอรหันต์รูป หนึ่งเคยอยู่บำเพ็ญสมณธรรมและดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานที่ถ้ำนี้ ในคราวนั้นได้มีเทวดามากมายได้พากันมาถวายพระเพลิง จนไฟทิพย์ที่เผาธาตุขันธ์พระอรหันต์ได้ลามไหม้ป่าไปไกลประมาณ ๓ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๒ กิโลเมตร และยังไหม้ลึกลงไปในดินด้วยอำนาจร้อนแรงกล้า ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งไฟที่ลุกไหม้ไว้ได้ เดือดร้อนถึงพญานาคในเมืองบาดาล ต้องเกณฑ์นาคน้อยใหญ่ทั้งหลายให้ขึ้นมาช่วยกันพ่นน้ำดับไฟ ในที่สุดด้วยอิทธิฤทธิ์ของพวกพญานาคทำให้ไฟป่าที่ลุกลามไปได้ดับมอดสนิทลง เกิดขี้เถ้าทับถมกันมากมายจนกลายเป็นที่มาของชื่อถ้ำเป็นภาษาเหนือว่า “ตั๊บเต้า”แล้วกลายมาเป็น “ตับเต่า” ดังปัจจุบัน เมื่อหลวงปู่ครูบาสิทธิมาถึงวัดถ้ำตับเต่า ใหม่ๆก็ถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลถ้ำทดสอบอย่างหนัก แต่ท่านก็ผ่านมาได้เพราะตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรม ในช่วงแรกของการมาอยู่ที่นี่นั้น พ่อหนานมูล บ้านร้องธาร ฆราวาสผู้แก่กล้าอาคมและโด่งดังมีบ้านอยู่ไม่ไกลจากวัดถ้ำตับเต่ามากนัก เกิดศรัทธาในวัตรปฏิบัตรของหลวงปู่ฯจึงอาสาอุปปัฐากและถ่ายทอดมอบวิชาอาคม ให้หลวงปู่จนหมดสิ้น ทำให้หลวงปู่ฯสามารถสงเคราะห์ญาติโยมได้มากขึ้น ประกอบกับขณะที่หลวงปู่ครูบาสิทธิอยู่จำพรรษาณ.วัดถ้ำตับเต่าแห่งนี้ หลวงปู่มิได้อยู่ในวัดที่ตั้งอยู่หน้าถ้ำ แต่หลวงปู่ฯกลับขึ้นไปจำวัดปฏิบัติธรรมอยู่ภายในถ้ำ และภายในถ้ำตับเต่านี้หลวงปู่ฯท่านได้พบกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือปาฏิหารย์ มากมายโดยเฉพาะปู่ฤๅษีองค์หนึ่งที่เป็นคู่บารมีของพระอรหันต์ที่มาดับขันธ์ สู่นิพพานณ.ถ้ำแห่งนี้ และปู่ฤๅษีองค์นี้เองที่ช่วยให้การปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่รุดหน้าไปอย่าง รวดเร็วจนเข้าถึงอภิญญาสมาบัติ รวมเวลาที่หลวงปู่ฯได้ศึกษาพระเวทย์และปฎิบัติภาวนาอยู่ในถ้ำตับเต่าแห่งนี้ นานถึง ๙ ปี กระทั่งปี พศ.๒๕๐๘ พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) เสา แห่งหมู่บ้านปางต้นเดื่อ ยอดดอยลาง ดินแดนที่อำนาจรัฐของประเทศไทยในขณะนั้นเข้าไปไม่ถึง ในพื้นที่เต็มไปด้วยกองกำลังกลุ่มต่างๆ ของหลายชนเผ่า ได้มาขอพระสงฆ์กับท่านเจ้าคณะอำเภอฝาง(สมัยนั้นยังไม่มีอำเภอแม่อาย) ให้ไปจำพรรษาณ.ที่พักสงฆ์ปางต้นเดื่อเพื่อช่วยสงเคราะห์ชาวเมืองที่ขึ้นไป บุกเบิกป่าทำไร่ชา เนื่องว่าในขณะนั้นบนดอยลางมีแต่ฤๅษีไม่มีพระประกอบศาสนกิจ ท่านเจ้าคณะอำเภอทราบเรื่องดังนี้แล้วก็พิจารณาเห็นว่าในขณะนั้นคงมีเพียง หลวงปู่ครูบาสิทธิรูปเดียวเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้และสามารถ จะพัฒนาที่พักสงฆ์ให้กลายเป็นวัดสำเร็จ จึงได้ให้พ่อหลวงเสานำคณะศรัทธาไปรับหลวงปู่จากถ้ำตับเต่าขึ้นสู่ยอดดอยลาง พัฒนาที่พักสงฆ์จนกลายมาเป็นวัดในปัจจุบัน โดยมีศาสนสถานที่หลวงปู่สร้างมาเป็นลำดับดังนี้ พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างศาลาการเปรียญ (วิหาร) พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างศาลาปฎิบัติธรรมพ่อศีล แม่ศีล พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างบันไดขึ้นสู่วัด และสร้างหอระฆัง พ.ศ. ๒๕๓๔ สร้างหอระฆังทำด้วยไม้ พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างกุฎิสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ สร้างศาลาบำเพ็ญบุญ ๘๔ ปีครูบาสิทธิ อภิวัณโณ พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างซุ้มประตูหน้าวัด พ.ศ. ๒๕๔๖ สร้างกุฎิปฎิบัติธรรมครูบาฯ พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างพระบรมธาตุเจดีย์สิริดอยเวียงลาง สร้างบันไดขึ้นสู่พระ บรมธาตุเจดีย์สิริดอยเวียงลาง ประวัติวัดถ้ำตับเตา เรียบเรียงโดย คุณอินทร์ศวร แย้มแสง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอฝาง และพระอธิการศิลปชัย ญาณวโร อดีตเจ้าอาวาส เผยแพร่แก่ญาติโยมผู้สนใจ เมื่อเดือนเมษายน 2543 มาเล่าประดับความรู้นะครับ วัด ถ้ำตับเตา เป็นศาสนสถานโบราณนานนับเวลาหลายร้อยปีแล้ว ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำตับเตา หมู่ที่ 13 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ มีลำธารน้ำใสสะอาดไหลผ่ากลางบริเวณวัด ไหลจากหนองน้ำเล็กๆ ที่เกิดจากตาน้ำผุดห่างไปทางด้านหลังถ้ำประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ตาน้ำผุดและสระเล็กๆ นี้เกี่ยวพันกับตำนานของถ้ำตับเตา วัดนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณเชิงเขาถ้ำตับเตา และเป็นภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขาที่กั้นเขตอำเภอไชยปราการกับอำเภอเชียงดาว ทางทิศใต้ และเป็นเทือกเขาหลายลูกสลับซับซ้อนกันกั้นเขตแดนไทยกับพม่าทางทิศตะวันตก วัด ถ้ำตับเตาจะสร้างในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎแน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐาน เอาตามหลักฐานที่เป็นสิ่งก่อสร้างในวัด คือ พระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 9 เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน พอกด้วยยางไม้รักปิดทองในแบบศิลปะอยุธยา ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างใน สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวพระองค์ทรงยกทัพหน้าเพื่อจะเข้าตีพม่าและตีเมืองตองอูในประมาณ ปี พ.ศ.2135 และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพหลวงไปทางเชียงดาวเข้าพักพลที่เมืองหาง ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทย และทราบจาก ปลัดอำเภออาวุโส คุณปลายมาศ พิรภาดาว่ามีผู้เฒ่าอายุมากท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าก่อนนี้ หน้าถ้ำมีป้ายเขียนบอกไว้ว่า ณ ถ้ำนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าอาวาสสันนิษฐานเช่นนี้ด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่ โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทย คงจะต้องมีลักษณะศิลปแบบล้านนา การเดินทางมาดอยลาง ให้ใช้เส้นทางเข้า อบต บ้านท่าตอน เส้นทางวิ่งขึ้นเขาไปประมาณ 8 กิโลเมตร จะพบค่ายทหาร จุดตรวจการณ์ดอยกิ่วฮุง
หลังจากนั้นไปอีกประมาณ 1-2 กิโลเมตร ก็จะพบทางแยก ให้เลี้ยวขวาไปทางดอยลาง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะพบกับวัดปางต้นเดื่อครับ ตลอดเส้นทางดังกล่าว มีภูมิัทัศน์ที่สวยงามมากครับ
วัดสันติวนาราม เป็นวัดป่า สายธรรมยุต อยู่ที่ บ้านสันป่าก่อ ต.แม่คะ อ.ฝาง ห่างจากตัวอำเภอไม่มาก ภายในวัดเนื้อที่กว้างขวาง เจ้าอาวาส คือ พระครูสุเมธ ปัญญาคุณ ถ้าเดินทางมาท่าตอน แวะชมบรรยากาศวัดป่า ที่ร่มรื่น เนื่องจากท่านพระครูสุเมธ ชื่นชอบต้นไม้ จึงได้ปลูกต้นไม้ไว้ในวัดหลายชนิด รวมทั้งพัทธุ์ไม้ท้องถิ่นที่หายากต่างๆ ท่านพระครูฯ กำลังระดมทุนสร้างวิหารเฉลิมพระเีกียรติ 84 พรรษา ให้กับในหลวง ตามรูปด้านล่างนี่ครับ วิหารเพิ่งก่อสร้างไปได้เท่าที่เห็นในรูปด้านบนครับ หากผ่านมาทางนี้ ก็เชิญชวนให้ ผู้มีจิตศรัทธาแวะมาร่วมสมทบทุน หรือแวะคุยกับท่านพระครูสุเมธ ได้ครับ ท่านใจดี และมีเมตตามากครับ และจากที่ได้ไปพบหลวงพ่อท่าน เมือ 10 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา หลวงพ่อเล่าว่า ปีนี้ขอให้ได้ฐานรากและเสา ก็ถือว่า ดีมากแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีและเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาอีกมาก กว่าจะแล้วเสร็จครับ 6.ตักบาตรวิถีพุทธ ตอนเช้า วิถีชีวิตผู้คนที่ท่าตอน ยังเต็มไปด้วยกลิ่นไอของความเป็นชนบท ชาวบ้านที่นี่ยังคงทำนุบำรุงพุทธศาสนา ด้วยการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า โดยเฉพาะที่น่าสนใจคือ หากได้แวะผ่านมาพักที่บ้านท่าตอนในตอนเช้า อาจจะได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่ง จากวัดสันต้นดู่ ที่มาบิณฑบาตเช้าที่บ้านท่าตอน ด้วยบทสวดที่แปลกใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านที่นี่เต็มไปด้วยความเลื่อมใสและศรัทธา แต่เนื่องจากท่านจำวัดอยู่ที่ วัดสันต้นดู่ การมาบิณฑบาตที่บ้านท่าตอน จึงจัดว่า ลำบากมากพอสมควร หากมีโอกาสไปท่าตอนตักบาตรเช้า ขอแนะนำว่าไม่ควรพลาด!! 7.ล่องเรือแม่น้ำกก 8.สวนส้มธนาทร 9.ดอยแม่สลอง 10.โป่งน้ำร้อนฝาง 11.การปลูกชาดอยป่ากุ๋ย 12.สัมผัสวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ เช่น กระเหรี่ยงคอยาว มูเซอ, การปลูกชา กาแฟ และทำนาขั้นบันได 13.งานประเพณีต่างๆ ที่น่าสนใจ ประเพณีกินวอ ตำบลท่าตอน เป็นตำบลเล็กๆที่มีภูเขาล้อมรอบ มีลำน้ำกกไหลผ่าน มีทัศนีย์ภาพที่สวยงาม และยังเป็นตำบลที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่มากมายหลายเผ่า จึงเป็นที่มาของวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลายและมีความน่าสนใจ เป็นอย่างยิ่ง ประเพณีกินวอ หรือขึ้นปีใหม่ ของชนเผ่าลาหู่ ถือว่าเป็นเทศกาลแห่งความสุขของชาวลาหู่เพราะจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุก สนานโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนจะมีการเต้น “จะคึ” ซึ่งเป็นการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์และหาชมได้ยาก งานจะจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วันโดยแบ่งออกเป็นวันปีใหม่ของผู้หญิง 4 วันและวันของผู้ชาย 3 วันประเพณี จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน มกราคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านชนเผ่าลาหู่ ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีผูกข้อมือ เป็นประเพณีของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตามความเชื่อถือที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา ด้วยความที่เชื่อว่าในร่างกายของคนเรามีอยู่ 33 ขวัญ เช่นขวัญศรีษะ ขวัญจะละทิ้งหรือหายไปก็ต่อเมื่อคนๆนั้นตายไป นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่าขวัญชอบที่จะหนีไปท่องเที่ยวตามความต้องการของมัน เอง และอาจจะถูกผีร้ายต่างๆทำร้ายหรือกักขังไว้ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นล้มป่วย การรักษาพยาบาลช่วยเหลือคนเจ็บป่วยคือให้พ่อหมอผีประจำหมู่บ้านเรียกขวัญให้ กลับมาสู่บุคคลที่เจ็บป่วยพร้อมกับทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญเซ่นไหว้ผีด้วย ไก่,หมูสีดำ,เหล้าป่า งานประเพณีผูกข้อมือจัดขึ้นทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ ณ หมู่ 9 บ้านเมืองงาม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณียกย่องครูหมอไตย วันยกย่องครูหมอไตหรือ(วันไหว้ครู)จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้ รำลึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นนักประพันธ์ หรือนักกวี ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายของชาวไต ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ภายในงานจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ที่หาชมได้ยาก เช่นการฟ้อนกิงกะหล่า ฟ้อนโต ประเพณียกย่องครูหมอไตยจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ที่ วัดใหม่หมอกจ๋าม หมู่ 8 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีสงกรานต์ ตำบลท่าตอนเป็นตำบลที่มีลำน้ำกกไหลผ่านไปยังจังหวัดเชียงราย ทุกวันที่13-15 เดือนเมษายนของทุกปีถือว่าเป็นประเพณีสงกรานต์ และทางตำบลท่าตอนได้จัดงานประเพณีสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีที่สำคัญของคนไทย ในช่วงเวลานั้นปริมาณน้ำในลำน้ำกกบางแห่งจะลดลงจนเป็นหาดทราย ซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน้ำเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่า ตอนจัดขึ้น เช่นการประกวดนางสงกรานต์ซึ่งมีความแปลกใหม่ต่างจากที่อื่นคือ ผู้ที่เข้าประกวดต้องล่องเพมายังเวทีการประกวด การเดินขบวนของแต่ละหมู่บ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การชกมวยและมวยทะเล การแข่งขันชักคะเย่อในน้ำ ขึ้นเสาน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งสร้างความสนุกสนานให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก งานประเพณีสงกรานต์ของตำบลท่าตอนนี้ จะจัดขึ้น ณ บริเวณหาดทรายริมน้ำกกของบ้านท่าตอน ประเพณีบวชลูกแก้ว(ปอยส่างลอง) ปอยบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง)เป็นประเพณีบวชเณรตามความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความ เชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร พิธีกรรมจะมีการจัดอย่างใหญ่โตโดยแบ่งงานออกเป็น 3 วันคือ วันแรก เรียกว่าวันแต่งดาในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดลูกแก้วคล้ายเจ้า ชายไทยใหญ่ รับศีล หลังจากนั้นนำลูกแก้วแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอตลอดทั้งวันและนำลูกแก้วกลับไปรับประทานอาหารพัก ผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอนเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและลูกแก้วไปที่ วัด มีการเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญลูกแก้ว เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ลูกแก้วด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ลูกแก้วไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย ประเพณีปอยบวชลูกแก้วลองจัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ วัดท่าตอนพระอารามหลวง ประเพณีโล้ชิงช้า ประเพณีโล้ชิงช้าหรือที่อาข่าเรียกว่า “แย้ขู่อาเผ่ว” เป็นประเพณีรื่นเริงที่สำคัญมากประเพณีหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึง พระคุณแห่งเทพธิดา “อึ่มซาแยะ” ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย ซึ่งประเพณีนี้จะมีการจัดขึ้นทุกปี ประมาณ ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ผู้หญิงอาข่า จะมีการแต่งกายอย่างสวยงาม จากเสื้อผ้าที่ได้เตรียมตลอดทั้งปี มาสวมใส่เป็นกรณีพิเศษในช่วงประเพณีนี้ พิธีกรรมจะถูกจัดขึ้นทั้งหมด 4 วัน วันแรก เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ผู้หญิงจะไปตักน้ำบริสุทธิ์ที่แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เพื่อนำไปแช่ข้าวเหนียวไว้ตำเพื่อเป็นอาหารเส้นไหว้บูชาที่เรียกว่า “ ข้าวปุก” วันที่สอง วันเริ่มปลูกสร้างชิงช้า วันนี้จะไม่มีการฆ่าสัตว์ใด หนุ่มสาวจะรวมกลุ่มกันร้องเพลงอย่างสนุกสนาน วันที่สาม เป็นวันฉลองต้อนรับปีใหม่ซึ่งถือว่าเป็นพิธีใหญ่ มีการฆ่าหมู ไก่ และนำสุรามาเลี้ยงกันทั้งหมู่บ้าน และแขกที่มาร่วมงาน วันที่สี่ เป็นวันสุดท้ายของพิธีกรรม หนุ่มสาวและเด็กจะร่วมกันโล้ชิงช้ากันทั้งวัน ประเพณีโล้ชิงช้านี้จะจัดขึ้นที่บ้านห้วยศาลา อำเภอท่าตอน จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีลอยพระอุปคุต ลอยพระอุปคุตนั้นเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่ ในอำเภอแม่อาย จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ตามความเชื่อของล้านนาและชาวไทยใหญ่เชื่อว่าพระอุปคุตนั้นสิงสถิตอยู่ที่ ใต้แม่น้ำ หรือสะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มากมาย การลอยพระอุปคุตนั้นก็คือการบูชาท่าน เพราะท่านชอบอยู่ใต้น้ำจึงต้องลอยน้ำบูชาท่าน ถือกันว่า พระอุปคุตนั้นมีอยู่ 8 องค์นิพพานไปแล้ว 4 องค์ ที่ยังเหลืออยู่ 4 องค์ ดังนั้นการลอยบูชาท่านจึงจัดให้มี 8 องค์ พิธีการ จะมีการสร้างพระอุปคุตด้วยไม้ ขึ้น 8 องค์ ใส่ในมณฑปที่สร้างขึ้นสำหรับแต่ละองค์เริ่มพิธีบูชาตั้งแต่ ขึ้น 14 ค่ำ และในวันขึ้น 15 ค่ำ โดยขบวนแห่พระอุปคุตจะเริ่มตั้งแต่วัดแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วจึงทำพิธีลอยในแม่น้ำกก ณ ท่าเรือบ้านท่าตอน หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีลอยปอยเทียน ชาวไทยใหญ่ที่มีความเชื่อหลังจากออกพรรษาแล้ว จะต้องแห่ต้นเทียน พร้อมสิ่งของเพื่อนำไปถวายแด่พระสงฆ์ โดยเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาในช่วงนี้ และเป็นกุสโลบายของผู้ใหญ่ที่ต้องการให้ลูกหลานได้มาพบกันและได้ทำบุญร่วม กัน ในวันนั้นชาวบ้านจะไปหาต้นสนมาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆ นำมามัดรวมกันเป็นต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5-3 เมตร แล้วแห่ไปถวายวัดด้วย พร้อมกับจุดไฟต้นสน เพื่อเป็นพุทธบูชาสร้างนิมิตหมายและความเป็นศิริมงคลให้แก่ชีวิตที่โชติช่วง หญิงและชายจะแต่งกายในชุดของชาวไทยใหญ่อย่างสวยงาม มีวงดนตรีพื้นบ้านแห่นำหน้า พร้อมกับจุดเทียนส่องสว่างเดินไปยังวัด ประเพณีนี้จะถูกจัดขึ้นในช่วงหลังวันออกพรรษา ณ วัดใหม่หมอกจ๋าม หมู่8 บ้านใหม่หมอกจ๋าม ประเพณีลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ หรือประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ตำบลท่าตอนเป็นตำบลที่มีแม่น้ำกกไหลผ่าน แม่น้ำกกจึงเป็นสายน้ำที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ทั้งในการเกษตร อุปโภค บริโภค ดังนั้น เมื่อถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ประชาชนในพื้นที่ก็จะนำกระทงมาลอยเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ซึ่งทางตำบลท่าตอนก็ได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี และมีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดนางนพมาศ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การประกวดกระทงใหญ่ การจุดพลุดอกไม้ไฟ งานจัดขึ้น ณ บริเวณท่าเรือบ้านท่าตอน หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ |